สรุปการเปิดตลาดสินค้าเม็ดพลาสติก
ภายใต้กรอบเจรจา FTA
-------------------
1. ในปี 2005 ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกเม็ดพลาสติก เป็นลำดับที่ 15 ของโลก หรือ มีสัดส่วนร้อยละ 2.29 ของการส่งออกเม็ดพลาสติกทั้งสิ้น และนำเข้าเม็ดพลาสติกจากโลกเป็นลำดับที่ 21 หรือมีสัดส่วนร้อยละ 1.21 ของมูลค่าการนำเข้าเม็ดพลาสติกทั้งสิ้น โดยไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกสุทธิ (Net Exporter) ในสินค้าเม็ดพลาสติก ซึ่งเกินดุลการค้า มูลค่า 2,048.4 ล้านเหรียญสหรัฐ
2. ตลาดส่งออกสำคัญ คือ ฮ่องกง จีน เวียดนาม สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย ส่วนออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ มีมูลค่าส่งออกไม่มากนัก โดยมี ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐฯ และเยอรมนี เป็นคู่แข่งสำคัญ
3. แหล่งนำเข้าสำคัญ คือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหรัฐฯ เกาหลีใต้ มาเลเซีย
4. การเปิดตลาดเม็ดพลาสติกภายใต้กรอบเจรจา FTA
4.1 การเปิดตลาดสินค้าเม็ดพลาสติก ของไทย
- ไทยลดภาษีเป็น 0% ทันทีให้กับนิวซีแลนด์ ยกเว้นบางรายการ เช่น ไวนิลคลอไรด์ทั้งชนิดพลาสติไซด์และชนิดนอนพลาสติไซด์ ที่จะทยอยลดภาษีเป็น 0% ในปี 2010 และลดภาษีเป็น 0% ให้ออสเตรเลียในปี 2009 และ 2010 ส่วนจีนลดภาษีเป็น 0% ในปี 2010 เพื่อเป็นการปกป้องผู้ผลิตในประเทศ ให้มีระยะเวลาในการปรับตัว
อย่างไรก็ตาม ในปี 2007 โครงสร้างภาษีของไทย จะได้มีการปรับลดภาษีลง โดยเฉพาะเม็ดพลาสติกภาษีจะลดลงจาก ร้อยละ 8.75 ในปี 2006 และลดเหลือร้อยละ 5 ในปี 2007 ฉะนั้นการเปิดตลาดเม็ดพลาสติกของไทยให้ประเทศคู่ค้า จึงไม่ทำให้ไทยเสียประโยชน์ เพราะต้องลดภาษีตามโครงสร้างภาษีใหม่อยู่แล้ว และที่ลดภาษีเป็น 0% ทันทีให้กับนิวซีแลนด์ก็ไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากไทยนำเข้าเม็ดพลาสติกจากนิวซีแลนด์น้อยมาก
4.2 การเปิดตลาดสินค้าเม็ดพลาสติก ของประเทศคู่ค้า
- นิวซีแลนด์ลดภาษีให้ไทยเป็น 0% ทันที ทำให้ไทยได้ประโยชน์สามารถส่งออกเม็ดพลาสติกไปยังนิวซีแลนด์ได้เพิ่มขึ้น ส่วนออสเตรเลียลดภาษีให้ไทย เป็น 0% ในปี 2008 และ จีน ลดภาษีให้ไทย เป็น 0% ในปี 2009 และ 2010 นอกจากนี้จีนยังได้จัดให้เม็ดพลาสติกชนิดโพลีเอทิลีน (พิกัด 390110 และ 390120) เป็นสินค้าอ่อนไหวสูง ซึ่งภาษีจะคงไว้ที่ 10.3% และลดเหลือ 0-5% ในปี 2018 ทำให้สินค้าทั้ง 2 รายการไทยจะยังไม่ได้รับประโยชน์ และจากการที่ประเทศคู่ค้าเปิดตลาดเม็ดพลาสติกให้ไทย โดยลดภาษี เป็น 0% จะทำให้ไทยได้รับประโยชน์สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น
สินค้าเม็ดพลาสติกที่ไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน
- ตลาดออสเตรเลีย คู่แข่งเม็ดพลาสติกสำคัญของไทย คือ สหราขอาณาจักร สิงคโปร์ และจีน (เป็นคู่แข่งที่มีสัดส่วนใกล้เคียงกับไทย แต่ส่งออกเม็ดพลาสติกคนละชนิดกัน) และเม็ดพลาสติกที่ไทยมีศัยภาพในตลาดนี้ คือ โพลีอะซีทัล และโพลีโพรพิลีน
- ตลาดนิวซีแลนด์ คู่แข่งเม็ดพลาสติกสำคัญของไทย คือ เกากลีใต้ และสิงคโปร์ และเม็ดพลาสติกที่ไทยมีศัยภาพในตลาดนี้ คือ โพลีเอทิลีน และโพลีไวนิลคลอไรด์
- ตลาดจีน คู่แข่งเม็ดพลาสติกสำคัญของไทย คือ สิงคโปร์และซาอุดิอาระเบีย และเม็ดพลาสติกที่ไทยมีศัยภาพในตลาดนี้ คือ โพลีอะซีทัล โพลีเอทิลีน และโพลีสไตรีน
สรุปโดยรวม การที่ไทยเปิดตลาดสินค้าเม็ดพลาสติกให้ประเทศคู่ค้า จะไม่ทำให้ไทยต้องเสียประโยชน์ เพราะไทยได้มีการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าเม็ดพลาสติกเข้าสู่อัตราตามโครงสร้างแล้ว โดยในปี 2007 ภาษีเม็ดพลาสติกจะลดลงเหลือ 5% แต่การที่ประเทศคู่ค้าเปิดตลาดให้ไทยจะทำให้ไทยได้รับประโยชน์ สามารถส่งออกเม็ดพลาสติกไปยังประเทศคู่เจรจาได้เพิ่มขึ้น และสินค้าที่ไทยยังไม่พร้อมเปิดตลาดก็ได้ยืดระยะเวลาออกไป เพื่อให้ผู้ประกอบการของไทยได้มีเวลาในการปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขันจากต่างประเทศ ให้สามารถผลิตสินค้าในราคาต้นทุนต่ำ มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล สามารถแข่งขันได้ในอนาคต
-----------------------------
การเปิดตลาดสินค้าเม็ดพลาสติก
ภายใต้กรอบเจรจา FTA
----------------------------
รายการ |
พิกัด |
1. เอทิลีน |
HS. 3901 |
2. โพรพิลีน |
HS. 3902 |
3. สไตรีน |
HS. 3903 |
4. ไวนิลคลอไรด์ |
HS. 3904 |
5. อะคริลิกโพลิเมอร์ |
HS. 3906 |
6. โพลิอะซิทัล |
HS. 3907 |
7. โพลิอะไมด์ |
HS. 3908 |
8. อะมิโนเรซิน |
HS. 3909 |
9. เม็ดพลาสติกอื่น ๆ |
HS. 3905, 3910-3915 |
- ซิลิโคน ในลักษณะขั้นปฐม |
3910 |
- ปิโตรเลียมเรซิน - |
3911 |
- เซลลูโลส |
3912 |
- โพลิเมอร์ธรรมชาติ |
3913 |
- ไอออนเอกซ์เชนเจอร์ |
3914 |
- เศษ เศษตัดและของที่ใช้ไม่ได้ที่เป็นพลาสติก |
3915 |
ที่มา : Menucom กระทรวงพาณิชย์
2. การผลิต
เม็ดพลาสติก ได้จากการนำสารโมโนเมอร์ที่ได้จากปิโตรเคมีขั้นกลางมาผลิตเป็นสารโพลิเมอร์หรือเม็ดพลาสติกชนิดต่าง ๆ เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ในปัจจุบันผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยใช้เม็ดพลาสติกในประเทศประมาณ ร้อยละ 70 ของผลผลิตทั้งหมด และอีกร้อยละ 30 นำเข้าจากต่างประเทศ
ประเภทเม็ดพลาสติก แบ่งเป็น 7 ประเภท
- โพลีเอทิลีน (PE) เป็นเม็ดพลาสติกที่ใช้แพร่หลายที่สุด เม็ดพลาสติก PE
ที่ผลิตได้แบ่งเป็น LDPE, LLDPE , HDPE MDPE
- โพลีโพรพิลีน (PP) ใช้ทำบรรจุภัณฑ์พลาสติกและเครื่องใช้ไฟฟ้า เม็ดพลาสติก PP แบ่งเป็น PP-Copolymer ผลิตได้เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศและเหลือส่งออก
- โพลีสไตรีน (PS) ใช้ทำภาชนะพลาสติกและเครื่องใช้ไฟฟ้า เม็ดพลาสติก ชนิดนี้แบ่งเป็น GPPS และ HIPS ผลผลิตที่ได้ยังไม่เพียงพอที่จะใช้ในประเทศ
- โพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) ใช้ในงานก่อสร้าง มีผลผลิตมากเป็นอันดับ 2 รองจากโพลีเอทิลีน ผลิตสนองความต้องการในประเทศและมีเหลือส่งออก
- ABS / SAN, AS ใช้ผลิตเม็ดพลาสติกที่ทนต่อแรงกระแทก ความต้องการในประเทศมีสูง มีการนำเข้าบางส่วน
- เม็ดพลาสติกซึ่งใช้งานเฉพาะด้าน คือเม็ดพลาสติกเกรดวิศวกรรม มีผลิตในประเทศแต่ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศบางส่วน ปัจจุบันมีผู้ขอรับส่งเสริมการลงทุนเนื่องจากมีความต้องการมากขึ้นตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
- เม็ดพลาสติกอื่น ๆ
3 ภาพรวมการค้า
ประเทศไทยเป็น Net Exporter ในสินค้าเม็ดพลาสติก จากมูลค่า 792.4 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2003 เพิ่มเป็น 2,048.4 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2005
3.1 การส่งออก
ในปี 2005 ส่งออกมูลค่า 4,172.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มจากปี 2004 ร้อยละ 33.8 สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่
- โพลิอะซิทัล (พิกัด 3907) ส่งออกมากที่สุดมูลค่า 1,483.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ
ร้อยละ 35.6 ของมูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกทั้งสิ้น
- เอทิลีน (พิกัด 3901) มูลค่า 904.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ร้อยละ 21.7
- โพรพิลีน (พิกัด 3902) มูลค่า 546.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ร้อยละ 13.1
- สไตรีน (พิกัด 3903) มูลค่า 472.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ร้อยละ 11.3
- ไวนิลคลอไรด์ (พิกัด 3904) มูลค่า 279.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ร้อยละ 6.7
- ซิลิโคน (พิกัด 3910) มูลค่า 177.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ร้อยละ 4.2
- อะคลีลิคโพลิเมอร์ (พิกัด 3906) มูลค่า 103.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ร้อยละ 2.5
ตลาดส่งออก |
|
1. ฮ่องกง 20.5 %
2. จีน 18.2 %
3. เวียดนาม 6.1 %
4.สหรัฐอเมริกา 6.1 %
5. ญี่ปุ่น 5.2%
7. อินเดีย 4.8%
13. ออสเตรเลีย 1.4%
25. นิวซีแลนด์ 0.5%
|
1. ไต้หวัน 20.8% 2. ญี่ปุ่น 14.8% 3. เกาหลีใต้ 12.0% 4.ไทย 9.1% 5 สหรัฐฯ 8.5%
1.ไต้หวัน 19.6% 2. เกาหลีใต้ 17.7% 3. ญี่ปุ่น 11.9%
ไม่มีข้อมูล
1. แคนาดา 43.7% 2. เยอรมนี 8.0% 3. เม็กซิโก 7.8%
1. สหรัฐฯ 28.4% 2.เกาหลีใต้ 12.4% 3. ไต้หวัน 10.4%
1. เกาหลีใต้ 11.9% 2. สหรัฐฯ 11.8% 3. ไต้หวัน 10.3%
1. สหรัฐฯ 15.7% 2. เกาหลีใต้ 7.3% 3. เยอรมนี 6.4%
1. ออสเตรเลีย 19.0% 2. สหรัฐฯ 14.7% 3. ญี่ปุ่น 10.5%
|
ที่มา : World Trade Atlas 2006
3.2 การนำเข้า
ในปี 2005 นำเข้ามูลค่า 2,124.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2004 ร้อยละ 18.4 เป็นการนำเข้าเม็ดพลาสติกเกรดวิศวกรรมที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก เม็ดพลาสติกสำคัญที่นำเข้า ได้แก่
- โพลิอะซิทัล มูลค่า 555.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 26.1 ของมูลค่าการนำเข้าเม็ดพลาสติกทั้งสิ้น
- โพลีเอทิลีน มูลค่า 318.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ร้อยละ 15.0
- โพลีสไตรีน มูลค่า 290.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ร้อยละ 13.7
- โพลีโพรพิลีน มูลค่า 230.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ร้อยละ 10.8
แหล่งนำเข้าเม็ดพลาสติกที่สำคัญ คือ 1. ญี่ปุ่นนำเข้า มูลค่า 605.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ร้อยละ 28.5 2. สิงคโปร์ มูลค่า 297.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ร้อยละ 14.0 3. สหรัฐอเมริกา มูลค่า 288.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 13.6 4. เกาหลีใต้ มูลค่า 193.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 9.1 5. มาเลเซีย มูลค่า 120.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 5.7 8. จีน มูลค่า 70.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 3.3 20. อินเดีย มูลค่า 10.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 0.5 21. ออสเตรเลีย มูลค่า 6.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 0.3 และ 44. นิวซีแลนด์ มูลค่า 0.25 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ร้อยละ 0.01
สำหรับในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2006 ( มค.-กย.) ประเทศไทยยังเป็น Net Exporter ในสินค้าเม็ดพลาสติก โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 1,420.5 ล้านเหรียญสหรัฐในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2005 เพิ่มเป็น 1,643.0 ล้านเหรียญสหรัฐในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2006 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 โดยเกินดุลในสินค้าเศษและเศษตัดที่ใช้ไม่ได้ที่เป็นพลาสติก มูลค่า 714.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เม็ดพลาสติกชนิดโพลิอะซิทัล มูลค่า 512.1 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาคือ โพลีเอทิลีน 247.1 ล้านเหรียญสหรัฐ โพลีโพรพิลีน 166.1ล้านเหรียญสหรัฐ
โพลีสไตรีน 154.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นต้น
การส่งออกเม็ดพลาสติก ในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2006 มีมูลค่า 2,183.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2005 ร้อยละ 10.4 โดยส่งออกสินค้าโพลิอะซิทัล (พิกัด 3907) มากที่สุดร้อยละ 33.8 ของมูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกทั้งสิ้น รองลงมา คือ โพลีเอทิลีน (พิกัด 3901) ร้อยละ 23.6 โพลีโพรพิลีน (พิกัด 3902) ร้อยละ 12.5 และโพลีสไตรีน (พิกัด 3903) ร้อยละ 11.9 เป็นต้น
- ตลาดส่งออกสำคัญ คือ 1.ฮ่องกง 20.0% 2.จีน 19.4% 3. สหรัฐอเมริกา 7.0% 4. เวียดนาม 6.4% 5. ญี่ปุ่น 4.7% สำหรับตลาดอินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีสัดส่วนการส่งออก 3.0% ,1.8% และ0.9% ตามลำดับ
การนำเข้า เม็ดพลาสติกในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2006 มีมูลค่า 1,721.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2005 ร้อยละ 6.05 โดยนำเข้าสินค้าโพลิอะซิทัล (พิกัด 3907) มากที่สุดร้อยละ 24.5 ของมูลค่าการนำเข้าเม็ดพลาสติกทั้งสิ้น รองลงมาคือ โพลีเอทิลีน (พิกัด 3901) ร้อยละ 16.3 โพลีสไตรีน (พิกัด 3903) ร้อยละ 13.7 และโพลีโพรพิลีน (พิกัด3902) ร้อยละ 10.1 เป็นต้น
- แหล่งนำเข้าสำคัญ คือ 1.ญี่ปุ่น 27.6% 2.สิงคโปร์ 14.1% 3.สหรัฐอเมริกา 10.3% 4. เกาหลีใต้ 9.2% 5. มาเลเซีย 6.3 % และนำเข้าจากจีน 3.9% อินเดีย 0.7% ออสเตรเลีย 0.3% และนิวซีแลนด์ 0.01% เป็นต้น
4. การเปิดตลาดเม็ดพลาสติกภายใต้กรอบเจรจา FTA มีดังนี้
4.1 โพลีเอทิลีน (PE) พิกัด 3901 , โพลีโพรพิลีน (PP) พิกัด 3902 , โพลีสไตรีน
(PS) พิกัด 3903
- ไทยลดภาษีให้กับประเทศคู่เจรจา โดยลดภาษีเป็น 0% ทันทีให้กับ
นิวซีแลนด์ และลดภาษีนำเข้าเป็น 0% ให้กับออสเตรเลีย ในปี 2009 และ 2010 และลดภาษีเป็น 0% ให้จีนในปี 2010
- ประเทศคู่เจรจาลดภาษีให้ไทย คือ นิวซีแลนด์ ลดภาษีเป็น 0% ทันที ออสเตรเลีย ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2008 ส่วนจีน ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2009 และ 2010 ยกเว้น โพลีเอททิลีน พิกัด 390110 และ 390120 ซึ่งเป็นสินค้าอ่อนไหวของจีน ลดภาษี เป็น 0 -5% ในปี 2018
4.2 โพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) พิกัด 3904
- ไทยลดภาษีให้กับประเทศคู่เจรจา โดยลดภาษีเป็น 0% ทันทีให้กับนิวซีแลนด์ (เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นไวนิลคลอไรด์ทั้งชนิดพลาสติไซด์และชนิดนอนพลาสติไซด์ จะทยอยลดภาษีเป็น 0% ในปี 2010 ส่วนไวนิลคลอไรด์ ไวนิลอะซีเทต จะคงภาษีอยู่ที่ 5% และลดเป็น 0% ในปี 2009) และลดภาษีเป็น 0% ให้กับออสเตรเลียในปี 2009 และ 2010 ลดภาษีเป็น 0% ให้จีน ในปี 2009 และ 2010
- ประเทศคู่เจรจาลดภาษีให้ไทย คือ นิวซีแลนด์ ลดภาษีเป็น 0% ทันที ออสเตรเลีย ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2008 ส่วนจีน ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2010
4.3 โพลิเมอร์ของไวนิลอะซีเทต พิกัด 3905 3904
- ไทยลดภาษีให้กับประเทศคู่เจรจา โดยลดภาษีเป็น 0% ทันทีให้กับนิวซีแลนด์ ออสเตรเลียลดภาษีเป็น 0% ในปี 2008 ส่วนจีน ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2009
- ประเทศคู่เจรจาลดภาษีให้ไทย คือ นิวซีแลนด์ ลดภาษีเป็น 0% ทันที ออสเตรเลีย ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2008 ส่วนจีน ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2010
4.4 อะคริลิกโพลิเมอร์ พิกัด 3906
- ไทยลดภาษีให้กับประเทศคู่เจรจา โดยลดภาษีเป็น 0% ทันทีให้กับนิวซีแลนด์ ออสเตรเลียและจีน ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2010
- ประเทศคู่เจรจาลดภาษีให้ไทย คือ นิวซีแลนด์ ลดภาษีเป็น 0% ทันที ออสเตรเลีย ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2008 ส่วนจีน ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2009
4.5 โพลิอะซิทัล พิกัด 3907
- ไทยลดภาษีให้กับประเทศคู่เจรจา โดยลดภาษีเป็น 0% ทันทีให้กับนิวซีแลนด์ ออสเตรเลียและจีน ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2010
- ประเทศคู่เจรจาลดภาษีให้ไทย คือ นิวซีแลนด์ ลดภาษีเป็น 0% ทันที ออสเตรเลีย ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2008 ส่วนจีน ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2009 และปี 2010
4.6 โพลิอะไมด์ พิกัด 3908
- ไทยลดภาษีให้กับประเทศคู่เจรจา โดยลดภาษีเป็น 0% ทันทีให้กับนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2009 และ 2010 ส่วนจีน ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2010
- ประเทศคู่เจรจาลดภาษีให้ไทย คือ ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ ลดภาษีเป็น 0% ทันที จีน ลดภาษีเป็น 0% ในปี
4.7 อะมิโนเรซิน พิกัด 3909
- ไทยลดภาษีให้กับประเทศคู่เจรจา โดยลดภาษีเป็น 0% ทันทีให้กับนิวซีแลนด์ ส่วนออสเตรเลียและจีน ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2010 ยกเว้น ฟิโนลิกเรซิน ที่จะลดเป็น 0 ในปี 2009
- ประเทศคู่เจรจาลดภาษีให้ไทย คือ นิวซีแลนด์ ลดภาษีเป็น 0% ทันที ออสเตรเลีย ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2008 จีน ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2009
4.8 ซิลิโคน ในลักษณะขั้นปฐม พิกัด 3910
- ไทยลดภาษีให้กับประเทศคู่เจรจา โดยลดภาษีเป็น 0% ทันทีให้กับนิวซีแลนด์ ส่วนออสเตรเลีย ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2009 จีน ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2010
- ประเทศคู่เจรจาลดภาษีให้ไทย คือ นิวซีแลนด์ ลดภาษีเป็น 0% ทันที ออสเตรเลีย ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2009 จีน ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2010
4.9 ปิโตรเลียมเรซิน พิกัด 3911
- ไทยลดภาษีให้กับประเทศคู่เจรจา โดยลดภาษีเป็น 0% ทันทีให้กับนิวซีแลนด์ ส่วนออสเตรเลีย ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2009 จีน ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2010
- ประเทศคู่เจรจาลดภาษีให้ไทย คือ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ลดภาษีเป็น 0% ทันที จีน ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2009
4.10 เม็ดพลาสติกอื่น ๆ ได้แก่ เซลลูโลส พิกัด 3912 โพลิเมอร์ธรรมชาติ พิกัด 3913 ไอออนเอกซ์เชนเจอร์ พิกัด 3914
- ไทยลดภาษีให้กับประเทศคู่เจรจา โดยลดภาษีเป็น 0% ทันทีให้กับนิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ส่วนจีน ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2009
- ประเทศคู่เจรจาลดภาษีให้ไทย คือ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ลดภาษีเป็น 0% ทันที จีน ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2009
- ไทยลดภาษีให้กับประเทศคู่เจรจา โดยลดภาษีเป็น 0% ทันทีให้กับนิวซีแลนด์ ออสเตรเลียและจีน ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2010
- ประเทศคู่เจรจาลดภาษีให้ไทย คือ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ลดภาษีเป็น 0% ทันที จีน ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2010
สำหรับเม็ดพลาสติกที่อยู่ในรายการลดภาษีส่วนแรก (EH 82 รายการ) ในกรอบไทย - อินเดีย ได้แก่ เม็ดพลาสติกอะคริลิกโพลิเมอร์อื่น ๆ (พิกัด 390690) ,โพลีอะซีทัล (พิกัด 390710) , อีพอกไซด์รซิน (พิกัด 390730) , โพลีคาร์บอเนต (พิกัด 390740) โพลีเอสเตอร์อื่นๆ (พิกัด 390799) , โพลีอะไมด์ (พิกัด 390810,390890 ) และโพลียูริเทน (พิกัด 390950) จะลดภาษีเป็น 0 ในเดือนกันยายน 2006 ส่วนรายการอื่น ๆ อยู่ระหว่างการเจรจา
5. ข้อวิเคราะห์
5.1 การเปิดตลาดสินค้าเม็ดพลาสติก ของไทย
- ตลาดนิวซีแลนด์ ไทยลดภาษีเป็น 0% ทันทีให้กับนิวซีแลนด์ ยกเว้น ไวนิลคลอไรด์ทั้งชนิดพลาสติไซด์และชนิดนอนพลาสติไซด์ ที่จะทยอยลดภาษีเป็น 0% ในปี 2010 ส่วนไวนิลคลอไรด์ ไวนิลอะซีเทต จะคงภาษีอยู่ที่ 5% และลดเป็น 0% ในปี 2009 ซึ่งจะทำให้นิวซีแลนด์ ได้ประโยชน์สามารถส่งออกเม็ดพลาสติกมายังไทยได้เพิ่มขึ้น แต่เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการนำเข้าเม็ดพลาสติกของไทยจากนิวซีแลนด์ในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2006 ปรากฎว่าไทยนำเข้าเม็ดพลาสติกจากนิวซีแลนด์น้อยมาก เพียง 0.17 ล้านเหรียญสหรัฐ เท่านั้นลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2005 ร้อยละ 29.1 จึงไม่ส่งผลกระทบต่อการที่ไทยเปิดตลาดเม็ดพลาสติกให้นิวซีแลนด์
- ตลาดออสเตรเลีย ไทยลดภาษีเป็น 0% ให้ออสเตรเลียในปี 2009 และ 2010 เป็นส่วนใหญ่ และเมื่อพิจารณาจากมูลค่าการนำเข้าเม็ดพลาสติกของไทยจากออสเตรเลียในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2006 ปรากฎว่าไทยนำเข้าเม็ดพลาสติกจากออสเตรเลีย มูลค่า 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีมูลค่าไม่มากนัก เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2005 ร้อยละ 7.1 ฉะนั้นการเปิดตลาดเม็ดพลาสติกของไทยจึงไม่ทำให้ไทยนำเข้าเม็ดพลาสติกจากออสเตรเลียเพิ่มขึ้น
- ตลาดจีน ไทยลดภาษีเป็น 0% ให้จีนในปี 2010 เพื่อเป็นการปกป้องผู้ผลิตในประเทศ และเมื่อพิจารณาจากมูลค่าการนำเข้าเม็ดพลาสติกจากจีน ในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2006 ปรากฎว่าไทยนำเข้าเม็ดพลาสติกจากจีน มูลค่า 66.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2005 ร้อยละ 25.4 ฉะนั้น การที่ไทยจะลดภาษีเป็น 0% ในปี 2010 จึงเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการไทยที่รัฐยังปกป้องผู้ผลิตเพื่อให้มีระยะเวลาในการปรับตัว
อย่างไรก็ตาม ในปี 2007 โครงสร้างภาษีของไทย จะได้มีการปรับลดภาษีลง โดยเฉพาะเม็ดพลาสติกภาษีจะลดลงจาก ร้อยละ 8.75 ในปี 2006 และลดเหลือร้อยละ 5 ในปี 2007 ฉะนั้นการเปิดตลาดเม็ดพลาสติกของไทยให้ประเทศคู่ค้า จึงทำให้ไทยไม่เสียประโยชน์ เพราะต้องลดภาษีตามโครงสร้างภาษีใหม่อยู่แล้ว
5.2 การเปิดตลาดสินค้าเม็ดพลาสติก ของประเทศคู่ค้า
- ตลาดนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ลดภาษีให้ไทยเป็น 0% ทันที เป็นผลดีทำให้ไทยสามารถส่งออกเม็ดพลาสติกไปยังนิวซีแลนด์ได้เพิ่มขึ้น โดยในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2006(มค.-กย.) ส่งออกมูลค่า 31.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2005 ร้อยละ 99.4
- ตลาดออสเตรเลีย ออสเตรเลียลดภาษีให้ไทย เป็น 0% ในปี 2008 ซึ่งในปัจจุบัน (ปี 2006) ภาษีเม็ดพลาสติกส่วนใหญ่ของออสเตรเลียอยู่ที่ 5% ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อออสเตรเลียทยอยลดภาษี มีผลทำห้ไทยสามารถส่งออกเม็ดพลาสติกไปยังออสเตรเลียได้เพิ่มขึ้น โดยในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2006 (มค- กย.) ไทยส่งออกมูลค่า 60.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2005 ร้อยละ 44.2 และเมื่อออสเตรเลียเปิดตลาดในปี 2008 จะเป็นผลดีทำให้ไทยสามารถส่งออกเม็ดพลาสติกไปยังออสเตรเลียได้เพิ่มมากขึ้น
- ตลาดจีน จีน ลดภาษีให้ไทย เป็น 0% ในปี 2009 และ 2010 ซึ่งในปัจจุบันจีนเก็บภาษีนำเข้า ในอัตราค่อนข้างสูงคือร้อยละ 8, 9.7 ในระยะแรกไทยอาจส่งออกเม็ดพลาสติกได้ไม่มากเท่าที่ควร ทั้งๆที่ในปัจจุบันจีนมีความต้องการบริโภคเม็ดพลาสติกในอัตราสูง แต่เมื่อภาษีลดเป็น 0% ไทยจะส่งออกได้เพิ่มมากขึ้น โดยในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2006 (มค.-กย.) ไทยส่งออก มูลค่า 653.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2005 ร้อยละ 18.1
นอกจากนี้จีนยังได้จัดให้เม็ดพลาสติกชนิดโพลีเอทิลีน (พิกัด 390110 และ 390120) เป็นสินค้าอ่อนไหวสูง ซึ่งภาษีจะคงไว้ที่ 10.3% และลดเหลือ 0-5% ในปี 2018 ทำให้สินค้าทั้ง 2 รายการไทยจะยังไม่ได้รับประโยชน์
สรุปโดยรวม การที่ไทยเปิดตลาดสินค้าเม็ดพลาสติกให้ประเทศคู่ค้า ก็ไม่ทำให้ไทยต้องเสียประโยชน์ เพราะถึงอย่างไรก็ตาม โครงสร้างภาษีของไทยได้มีการปรับลดลง โดยในปี 2007 ภาษีเม็ดพลาสติกจะลดลงเหลือ 5% แต่การที่ประเทศคู่ค้าเปิดตลาดให้ไทยจะทำให้ไทยได้รับประโยชน์ สามารถส่งออกเม็ดพลาสติกไปยังประเทศคู่เจรจาได้เพิ่มขึ้น และสินค้าที่ไทยยังไม่พร้อมเปิดตลาดก็ได้ยืดระยะเวลาออกไป เพื่อให้ผู้ประกอบการของไทยได้มีเวลาในการปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขันจากต่างประเทศ ให้สามารถผลิตสินค้าในราคาต้นทุนต่ำ มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล สามารถแข่งขันได้ในอนาคต
- ตารางลดภาษี เม็ดพลาสติกที่ไทยลดภาษีให้คู่เจรจา
- ตารางลดภาษี เม็ดพลาสติกที่คู่เจรจาลดภาษีให้ไทย
------------------------------------
กลุ่มงานวิเคราะห์สินค้าอุตสาหกรรม 1
สำนักวิเคราะห์สินค้าอุตสาหกรรม
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
พฤศจิกายน 2549